วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาษาไทย



          ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

          ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย

ชื่อและที่มา

          คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

เพลงก เอ๋ย กไก่ เพลงสำหรับการศึกษาภาษาไทยในวัยเรียน

    

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระธรรมทูต




          พระธรรมทูต หรือ พระธรรมจาริก หมายถึงภิกษุที่เดินทางไปแสดงธรรมในที่ต่างๆ ทำหน้าที่เหมือนทูตทางธรรมหรือทูตของพระศาสนา

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทัศนศิลป์ & ศิลปะพื้นบ้าน



          ทัศนศิลป์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง



          ศิลปะพื้นบ้าน หมายถึง ศิลปะที่มีความงามความเรียบง่ายจากฝีมือของชาวบ้านทั่วๆ ไปสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่าทางด้านความงาม และประโยชน์ใช้สอยตามสภาพของท้องถิ่น ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวว่า หมายถึง “ศิลปะชาวบ้าน” เช่น การร้องรำทำเพลง การวาดเขียน และอื่นๆ ซึ่งมีกำเนิดมาจากชีวิตจิตใจของประชาชน ศิลปะชาวบ้านหรือศิลปะพื้นบ้านส่วนใหญ่จะเกิดควบคู่กับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ภายใต้อิทธิพลของชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ และความจำเป็นของสภาพท้องถิ่น เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตึกระฟ้า



ตึกระฟ้า ในยุโรปจะ หมายถึงตึกที่มีความสูง 152.4 เมตรขึ้นไป (แต่กับทวีปอื่นๆ จะใช้มาตรฐานที่แตกต่างกันไป) โดยตึกระฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นสำนักงาน โรงแรม หรือที่อยู่อาศัย ในช่วงเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น ยังไม่มีตึกที่สูงเกินกว่า 6 ชั้น เนื่องจาก ผู้คนไม่ต้องการเดินขึ้นบันไดสูง และไม่สามารถปั๊มน้ำให้สูงเกินกว่า 15 เมตรได้ ตึกระฟ้าเริ่มเป็นไปได้หลังจากความสำเร็จในการพัฒนาเหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก และปั๊มน้ำ รวมถึงการสร้างลิฟต์

10 อันดับตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในโลก

อันดับ ตึก เมือง ประเทศ ความสูง ชั้น ปีที่สร้างเสร็จ (พ.ศ.)
1 บูร์จคาลิฟา ดูไบ  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 828 ม. 2,717 ฟุต 162 2553
2 ไทเป 101 ไทเป  ไต้หวัน 509 ม. 1,671 ฟุต 101 2547
3 เซี่ยงไฮ้เวิลด์ไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ เซี่ยงไฮ้  จีน 492 ม. 1,614 ฟุต 101 2551
4 อินเตอร์เนชันแนลคอมเมิร์ซเซ็นเตอร์ ฮ่องกง  จีน 483 ม. 1,514 ฟุต 118 2552
5 เปโตรนาส ตึก 1 กัวลาลัมเปอร์  มาเลเซีย 452 ม. 1,483 ฟุต 88 2541
5 เปโตรนาส ตึก 2 กัวลาลัมเปอร์  มาเลเซีย 452 ม. 1,483 ฟุต 88 2541
6 หนานจิงกรีนแลนด์ไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ หนานจิง  จีน 450 ม. 1,476 ฟุต 66 2552
7 วิลลิสทาวเวอร์ ชิคาโก  สหรัฐอเมริกา 442 ม. 1,451 ฟุต 108 2517
8 กว่างโจวเวสต์ทาวเวอร์ กว่างโจว  จีน 438 ม. 1,435 ฟุต 103 2552
9 จินเหมาทาวเวอร์ เซี่ยงไฮ้  จีน 421 ม. 1,380 ฟุต 88 2541
10 ทูอินเตอร์เนชัลนัลไฟแนนซ์เซ็นเตอร์ ฮ่องกง  จีน 415 ม. 1,362 ฟุต 88 2546

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การทำความดีง่ายๆ

          การทำความดี คือ การประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีซึ่งจะต้องเกิดจากเจตนาที่ดีการทำความดีสามารถปฏิติได้ทั้งกาย วาจาและใจดังนี้

     ผลของการทำความดี

     -ผู้ทำเกิดความสุขกาย สุขใจ เพราะได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
     -ผู้ทำและผู้รับอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
     -สังคมสงบสุข
     -เกิดความรักความสามัคคี
     -ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น




วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วาฬร้องเพลง


ปลาวาฬยังสามารถส่งเสียง และทำเสียงสัญญาณต่างๆ ได้อีกมากด้วยและนับตั้งแต่วินาทีที่มันถูกคลอดออกจากท้องของแม่มัน จนกระทั่งถึงวินาทีสุดท้ายก่อนที่มันจะตายมันจะส่งเสียงและรับเสียงต่าง ๆ ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน หรือในยามมันออกหาล่ามันก็จะส่งคลื่นเสียงออกไปกระทบตัวเหยื่อก่อน จากนั้นมันจะคอยฟังคลื่นที่สะท้อนจากเหยื่อ ข้อมูลที่ได้จะบอกมันให้รู้ชนิดและตำแหน่งของเหยื่อ และถึงแม้ปลาวาฬจะไม่มีคอและไม่มีสายเสียงก็ตาม แต่มันก็สามารถส่งเสียงร้องออกไปได้ไกลๆ เสียงของปลาวาฬบางพันธุ์ ดังพอๆ กับเครื่องบินเจ็ต นักชีววิทยายังได้สังเกตเห็นอีกว่า
เวลาปลาวาฬสนทนากัน มันจะส่งเสียงร้องลักษณะหนึ่งแต่เวลามันจะฆ่าเหยื่อมันจะร้องอื้ออึงอีกแบบหนึ่งหรือเวลาที่มันว่ายน้ำเป็นกลุ่ม มันจะส่งเสียงร้องที่มีทำนองต่างออกไป เพื่อบอกเพื่อนปลาร่วมทะเลให้รู้ทิศและตำแหน่งที่มันกำลังว่ายน้ำอยู่ปลาวาฬจะส่งเสียงร้องเป็นจังหวะ เช่น ปลาวาฬสีน้ำเงินเวลาอพยพย้ายถิ่น จะส่งเสียงร้องนาน 20 วินาที สลับกับการว่ายน้ำเงียบ 20 วินาที


วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทำไมค้างคาวถึงนอนห้อยหัว

          คนจีนโบราณอธิบายว่า การที่ค้างคาวต้องนอนห้อยหัวเพราะมันสมองของมันหนักมากแต่ นักวิชาการปัจจุบันบอกว่า เป็นเพราะขาของค้างคาวไม่แข็งแรงพอที่จะทรงตัวอยู่ได้ เวลานอนมันจึงต้องยึด อุ้งตีนไว้กับต้นไม้หรือแง่งหินแล้วห้อยหัวลง เพื่อถ่ายน้ำหนักจากตีนสู่หัว แม้แต่เวลาที่ค้างคาวอยากจะเคลื่อนที่ไปไหน ๆ (โดยไม่บิน) มันก็ไม่สามารถเดินได้เพราะมีกระดูกขาที่แสนผอม มันจึงใช้ปีกตะกายไปกับพื้น โดยหลีกเลี่ยมิให้กดน้ำหนักลงไปที่ขาของมันและ น่าทึ่งที่ค้างคาวสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว 

          ในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4,300 ชนิด มีก็แต่ค้างคาวเท่านั้นที่บินได้ ค้างคาวใช้เวลานานมากกว่าจะวิวัฒนาการร่าง กายให้เหมาะแก่การบิน อย่างหนึ่งก็คือการรีดน้ำหนักขา จนมันสามารถใช้ขาสอง ข้างทำหน้าที่คล้ายหางช่วยพยุงตัวให้บินไปในทิศทางที่ต้องการได้ แต่ผลของ วิวัฒนาการนี้ก็ทำให้ขาของมันอ่อนแอจนไม่สามารถทรงตัวได้ในที่สุด

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สิ่งเสพติด


          สิ่งเสพติด หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆแล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพ มีความต้องการเสพทั้งทางการและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายทุดโทรม

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันต่อต้านยาเสพติดโลก



ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหา ยาเสพติด มาเป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง “คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ” ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
          ต่อมาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519
          ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
          ผลจากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงได้พยายามร่วมมือกันเพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด ดังนั้นในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวันที่26มิถุนายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติดซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530
          ประเทศไทยสำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531เป็นต้นมา
           กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันต่อต้านยาเสพติดส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมด้านป้องกัน เช่นการเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด การจัดนิทรรศการการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน การจัดสัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น
          ในฐานะที่ประเทศไทยถือว่ายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่ง ดังนั้นทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐบาลหรือเอกชนควรจะร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยร่วมกันจัดกิจกรรมตามกำลังความสามารถเพื่อช่วยให้คนรุ่นใหม่ได้ปลอดพ้นจากปัญหายาเสพติดและช่วยให้ผู้ที่ได้ตกเป็นทาสยาเสพติดได้มีโอกาสกลับเข้ามาอยู่ร่วมในสังคมอย่างปกติสุข

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พระอภัยมณี

          พระอภัยมณี คือกวีที่ประพันธ์โดยท่านสุทรภู่
          วรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ กวีเอกในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นคำประพันธ์ประเภทคำกลอนที่มีความไพเราะ และมีคุณค่าทางวรรณคดีอย่างยิ่ง ได้มีการพิมพ์เผยแพร่เป็นทางการอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ และได้มีการพิมพ์ เผยแพร่เป็นลำดับในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง 
          ในบรรดาหนังสือบทกลอนที่สุนทรภู่ได้แต่งไว้ เป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่า เรื่องพระอภัยมณีเป็นเรื่องที่ดีที่สุด เพราะเป็นหนังสือเรื่องยาว แต่งดีทั้งกลอนทั้งความคิดที่ผูกเรื่อง
          หนังสือเรื่องพระอภัยมณี ผิดกับหนังสือซึ่งผู้อื่นแต่งอยู่หลายประการ จะว่าไม่มีหนังสือเรื่องหนึ่งเรื่องใดมาเปรียบก็ได้ เป็นหนังสือดีแปลกจากเรื่องอื่น ๆ  กลอนของสุนทรภู่ก็แปลกจากกลอนของกวีอื่นซึ่งนับว่าดีในสมัยเดียวกัน ความคิดและโวหารก็แปลกจากหนังสือซึ่งผู้อื่นแต่ง และความที่คนทั้งหลายนิยมหนังสือพระอภัยมณีก็แปลกจากหนังสือเรื่องอื่น ๆ
          ข้อดีที่ยิ่งของหนังสือพระอภัยมณี อยู่ที่การแต่งพรรณนาอัชฌาสัยของบุคคลต่าง ๆ กันอย่างหนึ่ง คนไหนวางอัชฌาสัยไว้อย่างไรแต่แรก ก็คงให้อัชฌาสัยเป็นอย่างนั้นอยู่ทุกแห่งไปเมื่อกล่าวถึงในแห่งใด ๆ ต่อไปอีกอย่างหนึ่ง คำพูดจาว่ากล่าวกันด้วยความรักก็ดี ความโกรธแค้นก็ดี สุนทรภู่รู้จักหาถ้อยคำสำนวนมาว่าให้สัมผัสใจคน ใครอ่านจึงมักชอบจนถึงนำมาใช้เป็นสุภาษิต

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันสุนทรภู่


วันที่ 26 มิถุนายน นี้ เป็นวันสุนทรภู่ กวีเอกของโลกนั้นเอง มาดูประวัติวันสุนทรภู่กัน
 
          สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย

          "สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

          ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป 

          หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย 

          จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละคร ในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"

          ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ
          "สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระ ชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่ อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย 
          ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" 
          สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่าง ไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์"

มาดูคลิปเกี่ยวกับประวัติสุทรภู่ ดีกว่าครับ